รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es) มีอะไรบ้าง
1.
ปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ คือ ความรู้วิทยาศาสตร์
เป็นความรู้ที่เกิดจากการสรรสร้างของแต่ละบุคคล
ซึ่งมีอิทธิพลมาจากความรู้เดิม และสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคม
2.
แนวคิดของเพียเจต์ (Piaget) เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด คือ
การที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด
และการมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนี้มีผลทำให้
ระดับสติปัญญา และความคิดมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางสติปัญญาและความคิดมี 2 กระบวนการ คือ
การปรับตัว (adaptation) และการจัดระบบโครงสร้าง (organization)
การปรับตัวเป็นกระบวนการที่บุคคลหาหนทางที่จะปรับสภาพความไม่สมดุลย์ทางความ
คิดให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว
และเมื่อบุคคลัมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว
โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
มีรูปแบบของความคิดเกิดขึ้น กระบวนการปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2
ประการ คือ
1) กระบวนการดูดซึม (assimilation) หมายถึง
กระบวนการที่อินทรีย์ซึมซาบประการณ์ใหม่
เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
แล้วสมองก็รวบรวมปรับเหตุการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความคิดอันเกิดจาก
การเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม
2) กระบวนการปรับขยายโครงสร้าง
(accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการดูดซึม
คือภายหลังจากที่มีการซึมซาบของเหตุการณ์ใหม่เข้ามา
และปรับเข้าสู่โครงสร้างเดิมแล้ว
ถ้าปรากฎว่าประสบการณ์ใหม่ที่รับเข้ามามีสมบัติเหมือนกับประสบการณ์เดิม
ประสบการณ์ใหม่จะถูกซึมซาบและปรับเข้าหาประสบการณ์เดิม คือ
ทำให้ประสบการณ์เดิมมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แต่ถ้าไม่สามารถปรับปรับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับการซึมซาบเข้ามา
ให้เข้ากับประสบการณ์เดิมได้
สมองก็จะสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อปรับให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่นั้น
3.
ทฤษฎีการเสริมสร้างความรู้ (constructivism)
ซึ่งเชื่อกันว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง
มาแล้วไม่มากก็น้อย
ก่อนที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เน้นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตัวของผู้
เรียนรู้เอง และการเรียนรู้เรื่องใหม่จะมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิม ดังนั้น
ประสบการณ์เดิมของนักเรียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
กระบวนการเรียนรู้ (process of learning)
ที่แท้จริงของนักเรียนไม่ได้เกิดจากการบอกเล่าของครูหรือนักเรียนเพียงแต่จด
จำแนวคิดต่างๆ ที่มีผู้บอกให้เท่านั้น แต่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี
constructivism เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบ
และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ
จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง
และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน
สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า ดังนั้น
การที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้
ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสืบเสาะ
ความรู้ (Inquiry Process)
นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological
Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry
มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์
โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ
Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ
Evaluate

สาขา
ชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
จึงต้องการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง
วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
จึงพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอน
แบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้
1.
การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง
หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม
เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น
หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัว
กระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา
ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด
กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น
สงสัย ใครรู้ อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง
แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจเป็น
เรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล
เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม
ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ
2.
การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา
และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง
ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ
หรือปรากฎการณ์ต่างๆ
3. การอธิบาย (Explain)
นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล
สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง
แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย
สนุบสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้
โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้เหตุผลสมเหตุสมผล
การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน
4. การขยายความรู้ (Evaborate)
4.1
ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซื้งขึ้น
หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำ
ไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน
ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่
ได้กับความรู้เดิม
4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น
อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง
อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ
หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา
และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่
5. การประเมิน (Evaluate)
5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต
5.2
นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น
วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง
เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง
อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน
เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลอง
มา
ถึงตอนนี้เราก็ทราบทั้งเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี
และรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ครานี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญที่จะเป็นกระจกสะท้อนให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างต่อ
เนื่องเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทย เรื่องสำคัญที่ว่าก็คือ
ผลการวิจัย
1.
กระบวนการเรียนการสอน ขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 5Es
ส่วนมากครูดำเนินการในชั้นตอนการสร้างความสนใจ (Engage) การสำรวจและค้นหา
(Explore) การอธิบาย (Explain) ส่วนขั้นตอนการขยายความรู้ (Elaborate)
และการประเมินผล (Evaluate) ครูดำเนินการน้อยมาก
การเรียนการสอนส่วนมากบทบาทอยู่ที่ครู
โดยครูเป็นผู้นำอภิปรายตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ
ใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยใคร่รู้และคิด
แต่คำถามส่วนมากเป็นคำถามวัดความจำ และความเข้าใจ
และใช้วิธีสอนแบบแก้ปัญหาโดยอ้อม
กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนมากเป็นกิจกรรมให้คิดและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
ให้ และให้นักเรียนปฏิบัติงานกลุ่มโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาชี้แนะ กระตุ้น
2.
ความสามารถในการใช้ความคิดระดับสูงของนักเรียน ระหว่างการเรียนการสอน
นักเรียนไม่ได้แสดงออกถึงความสามารถในการอธิบายให้ชัดเจน
หรือให้เหตุผลในการตอบหรือลงข้อสรุปผลการสังเกตหรือทดลองอย่างสมเหตุสมผล
หรือไม่ได้อภิปรายผลการทดลองและมักจะตอบสั้นๆ ไม่ครบประเด็น
และผลการทดสอบก่อนและหลังสอน พบว่า ความสามารถในการคิดวิจารณญาน
นักเรียนส่วนมากยังคงมีความคิดวิจารณญานอยู่ในระดับการวิเคราะห์ข้อมูล
เบื้องต้นเชิงระบบอย่างมีเหตุผล
รองลงมานักเรียนพัฒนาขึ้นเป็นระดับการคาดคะเน หรือคาดเดาอย่างสมเหตุสมผล
ความสามารถในการแก้ปัญหานักเรียนส่วนมากยังไม่เข้าใจปัญหาและความสามารถใน
การแก้ปัญหาของนักเรียนลดลงจากเดิม
และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังจากได้รับการสอนแล้วนักเรียนส่วนมากมี
ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับการระดมความคิด และเมื่อพิจารณาระดับการพัฒนา
พบว่านักเรียนส่วนมากมีความคิดสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นจากระดับเดิม
และจากการวิเคราะห์คำตอบของนักเรียนจากแบบทดสอบ พบว่า
นักเรียนส่วนมากเขียนตอบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่ครบประเด็น ไม่อธิบายบริบท
ไม่เชื่อมโยงข้อมูลกับความรู้เดิมหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์
ไม่ค่อยให้เหตุผล ขาดความรู้พื้นฐาน การเรียบเรียงคำบรรยายสับสน
3. ปัญหาและอุปสรรค
3.1 ปัญหาเกี่ยวกับครู
- พื้นฐานความรู้ของครูในเนื้อหาสาระบางเรื่องยังมีพื้นฐานไม่เพียงพอ
- สถานการณ์ที่ครูใช้ไม่สามารถนำไปสู่ปัญหาที่ต้องการให้นักเรียนสืบเสาะหาความรู้
- ครูขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่ต้องการให้นักเรียนรู้กับสิ่งที่นักเรียนสืบเสาะหาความรู้ได้
- การเรียงลำดับเนื้อหาในการสอน ยังขาดความต่อเนื่อง
- ครูขาดความมั่นใจในขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ 5Es
- ครูขาดเทคนิคในการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพ
- ครูไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เวลานักเรียนคิดเท่าที่ควร
- ครูไม่ค่อนสนใจคำตอบของนักเรียน
3.2 ปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน
- ความรู้พื้นฐานหรือความรู้เดิมของนักเรียนไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่
หรือทำการสำรวจตรวจสอบ
- นักเรียนขาดความมั่นใจในการตอบคำถามครู
- นักเรียนตอบคำถามของครูแบบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่สมบูรณ์
- นักเรียนไม่แสดงออกถึงความสามารถในการอธิบายและลงข้อสรุปสิ่งที่ได้จากการสืบเสาะ
หาความรู้อย่างสมเหตุสมผล
- คำตอบของนักเรียนอาจจะไม่ได้จากการสำรวจ สังเกต หรือทดลอง แต่ได้จาก
การดูหนังสือตอบหรือใบความรู้
ข้อเสนอแนะ
1.
การเตรียมความพร้อมให้ครู
ครูควรได้รับการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบ
Inquiry Cycle (5Es) มากกว่านี้
และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความคิดระดับสูง
ครูควรได้รับการฝึกให้ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิด
ได้รับการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าในการสอนอย่างมีวิจารณญาณ
และควรได้รับการฝึกการวิเคราะห์และประเมินผลงานนักเรียน
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
2. ครูควรจัดทำแผนการสอน ตามรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าว รวมทั้งจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
3.
ครูควรสอดแทรกทักษะการคิด ลักษณะการคิด
และกระบวนการคิดในกระบวนการเรียนการสอน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคิด และสิ่งที่ควรเน้น คือ
ในการปฏิบัติงานควรให้นักเรียนวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
มากกว่านี้ ให้นักเรียนเป็นผู้นำอภิปรายและมีบทบาทมากกว่านี้
ที่มา : สาขาชีววิทยา สสวท.
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
1.
ปรัชญาวิทยาศาสตร์ดั้งเดิม ความรู้วิทยาศาสตร์ หมายถึง
ความจริงหรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ ซึ่งได้จากการตรวจสอบ
การค้นคว้าทดลองอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
แต่ปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ความรู้วิทยาศาสตร์
เป็นความรู้ที่เกิดจากการสรรสร้างของแต่ละบุคคล
ซึ่งมีอิทธิพลมาจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม
และสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคมของแต่ละคน
2. แนวคิดของเพียเจต์
(Piaget) เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด คือ
การที่คนเรามีปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด
และการปะทะสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมนี้มีผลทำให้
ระดับสติปัญญาและความคิด
มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาทางสติปัญญาและความคิดมี 2 กระบวนการ คือ การปรับตัว (Adaptation)
และการจัดระบบโครงสร้าง (Organization)
การปรับตัวเป็นกระบวนการที่บุคคลหาหนทางที่จะปรับสภาพความไม่สมดุลทางความ
คิดให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว
และเมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
มีรูปแบบของความคิดเกิดขึ้น กระบวนการปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2
ประการคือ
1) กระบวนการดูดซึม (Assimilation) หมายถึง
กระบวนการที่อินทรีย์ซึมซาบประสบการณ์ใหม่เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือน
หรือคล้ายคลึงกัน
แล้วสมองก็รวบรวมปรับเหตุการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความคิดอันเกิดจาก
การเรียนรู้ที่มีอยู่เดิม
2) กระบวนการปรับขยายโครงสร้าง
(Accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการดูดซึม คือ
ภายหลังจากที่ซึมซาบของเหตุการณ์ใหม่เข้ามา
และปรับเข้าสู่โครงสร้างเดิมแล้วถ้าปรากฏว่าประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับการซึม
ซาบเข้ามาให้เข้ากับประสบการณ์เดิมได้
สมองก็จะสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อปรับให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่นั้น
3.
ทฤษฎีการสร้างเสริมความรู้ (Constructivism)
เชื่อว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างมาแล้ว
ไม่มากก็น้อย
ก่อนที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เน้นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตัวของผู้
เรียนรู้เอง และการเรียนรู้เรื่องใหม่จะมีพื้นฐานมาจากความรู้เดิม ดังนั้น
ประสบการณ์เดิมของนักเรียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
กระบวนการเรียนรู้ (Process of Leaning)
ที่แท้จริงของนักเรียนไม่ได้เกิดจากการบอกเล่าของครู
หรือนักเรียนเพียงแต่จดจำแนวคิดต่าง ๆ ที่มีผู้บอกให้เท่านั้น
แต่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี Constructivism
เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้นเสาะหา สำรวจตรวจสอบ
และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ
จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
จึงจะสามารถเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง
และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน
สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า
ดังนั้นการที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้
ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)
4. ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผู้ให้ความหมายและแนวคิดหลากหลาย ดังนี้
อนันต์
จันทร์กวี (2523) กล่าวว่า
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นวิธีการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตน
เอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการนำเอาวิธีการต่างๆ
ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้
นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วย
สุ
วัฒน์ นิยมค้า (2531)
กล่าวว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้
ค้นคว้า
หรือสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นักเรียนยังไม่เคยมีความ
รู้ในสิ่งนั้นมาก่อน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
ดวง
เดือน เทศวานิช (2535) กล่าวว่า
การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ
โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งต้องมีหลักฐานสนับสนุน
วิธีนี้เป็นวิธีที่นักเรียนพิจารณาเหตุผล
สามารถใช้คำถามที่ถูกต้องและคล่องแคล่วสามารถสร้างและทดสอบสมมติฐานด้วยการ
ทดลอง และตีความจากการทดลองด้วยตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับคำอธิบายของครู
เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนมีระบบวิธีการแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ด้วยตน
เอง
สมจิต สวธนไพบูลย์ (2541) กล่าวว่า
หลักการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้
จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม
ส่วนครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแนะนำและให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น
ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การสำรวจ และการสร้างองค์ความรู้
มน
มนัส สุดสิ้น (2543)
สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
เป็นวิธีการหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้
คิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีระบบของการคิด
ใช้กระบวนการของการค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ครูมีหน้าที่จัดบรรยากาศ การสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
คิดแก้ปัญหาโดยใช้การทดลอง และอภิปรายซักถามเป็นกิจกรรมหลักในการสอน
ชล
สีต์ จันทาสี (2543)
สรุปความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
เป็นวิธีการที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้
ซึ่งครูมีหน้าที่เพียงเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ
จัดเตรียมสภาพการณ์และกิจกรรมให้เอื้อต่อกระบวนการที่ฝึกให้คิดหาเหตุผล
สืบเสาะหาความรู้
รวมทั้งการแก้ปัญหาให้ได้โดยใช้คำถามและสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น
ของจริง สถานการณ์ ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการสำรวจ ค้นหาด้วยตนเอง
บรรยากาศการเรียนการสอนให้นักเรียนมีอิสระในการซักถาม
การอภิปรายและมีแรงเสริม อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสอนให้นักเรียนคิดเป็น
ทำเป็น และแก้ปัญหาได้นั่นเอง
กู๊ด (Good. 1973)
ได้ให้ความหมายของการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นเทคนิคหรือกลวิธี
อย่างหนึ่งในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์
โดยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น
เสาะแสวงหาความรู้โดยการถามคำถาม และพยายามค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง
นอกจากนี้ยังให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น
วิธีการเรียนโดยการแก้ปัญหาจากกิจกรรมที่จัดขึ้น
และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรม ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่ ๆ
ที่นักเรียนเผชิญแต่ละครั้ง
จะเป็นตัวกระตุ้นการคิดกับการสังเกตกับสิ่งที่สรุปพาดพิงอย่างชัดเจน
ประดิษฐ์ คิดค้น ตีความหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด
การใช้วิธีการอย่างชาญฉลาดสามารถทดสอบได้ และสรุปอย่างมีเหตุผล
ซันด์
และโทรวบริดจ์ (Sun and Trowbridge. 1973)
สรุปลักษณะของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ว่า
เป็นการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างมโนทัศน์ด้วยตนเอง
และเป็นการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ของนักเรียน เช่น ความสามารถทางวิธีการ
ทักษะทางสังคม ความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งต้องให้อิสระและให้ผู้เรียนมีโอกาสคิด และเป็นการเรียนที่เน้นการทดลอง
เพื่อให้ผู้เรียน ค้นพบด้วยตนเอง
และการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้จะกำหนดเวลาสำหรับการเรียนรู้
ซานดรา เค เอเบล (Sandra K. Abell. 2002) ได้กล่าวถึงความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ตามที่ NSES และ AAAS นิยามไว้ ดังนี้
NSES
(National Science Education Standards)
ได้ให้ความหมายของการสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นกิจกรรมที่หลากหลายเกี่ยวกับ
การสังเกต การถามคำถาม การสำรวจตรวจสอบจากเอกสารและแหล่งความรู้อื่น ๆ
การวางแผนการสำรวจตรวจสอบ
การทดสอบตรวจสอบหลักฐานเพื่อเป็นการยืนยันความรู้ที่ได้ค้นพบมาแล้ว
การใช้เครื่องมือในการรวบรวม การวิเคราะห์ และการแปลความหมายข้อมูล
การนำเสนอผลงาน การอธิบายและการคาดคะเน
และการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับผลงานที่ได้
AAAS
(American Association for the Advancement of Science)
ได้ให้ความหมายการสืบเสาะหาความรู้ว่า
เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติพร้อมทั้งกระตุ้นนักเรียนให้ตื่นเต้น
สงสัยใคร่รู้ให้นักเรียนตั้งใจรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน
ครูเตรียมข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ ที่มีคนศึกษาค้นคว้ามาแล้ว
เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่
หรือเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนลึกซึ้งขึ้นให้นักเรียนอธิบายให้ชัดเจน
ไม่เน้นความจำเกี่ยวกับศัพท์ทางวิชาการ และใช้กระบวนการกลุ่ม
ดัง
นั้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process)
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ
และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
5. ระดับของการสืบเสาะหาความรู้ (Level of inquiry) แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
1)
การสืบเสาะหาความรู้แบบยืนยัน (Confirmed Inquiry)
เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ตรวจสอบความรู้หรือแนวคิด
เพื่อยืนยันความรู้หรือแนวคิดที่ถูกค้นพบมาแล้ว
โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหาและคำตอบ
หรือองค์ความรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนค้นพบ
และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่กำหนดในหนังสือหรือใบงาน
หรือตามที่ครูบรรยายบอกกล่าว
2) การสืบเสาะหาความรู้แบบนำทาง
(Directed Inquiry)
เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
โดยครูเป็นผู้กำหนดปัญหา และสาธิตหรืออธิบายการสำรวจตรวจสอบ
แล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบตามวิธีการที่กำหนด
3)
การสืบเสาะหาความรู้แบบชี้แนะแนวทาง (Guided Inquiry)
เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหา และครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการสำรวจตรวจสอบ
รวมทั้งให้คำปรึกษาหรือแนะนำให้ผู้เรียนปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบ
4)
การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิด (Open Inquiry)
เป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
โดยให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิด เป็นผู้กำหนดปัญหา ออกแบบ
และปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบด้วยตนเอง
6. จิตวิทยาที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
1)
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นต่อเมื่อผู้
เรียนได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการค้นหาความรู้นั้น ๆ
มากกว่าการบอกให้ผู้เรียนรู้
2) การเรียนรู้จะเกิดได้ดีที่สุด
เมื่อสถานการณ์แวดล้อมในการเรียนรู้นั้นยั่วยุให้ผู้เรียนอยากเรียน
ไม่ใช่บีบบังคับผู้เรียน
และครูต้องจัดกิจกรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการค้นคว้าทดลอง
3) วิธีการนำเสนอของครู จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด มีความคิดสร้างสรรค์ ให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้ความคิดของตนเองมากที่สุด
ทั้ง
นี้กิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนทำการสำรวจตรวจสอบจะต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
และผู้เรียนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะแสวงหาความรู้ใหม่
โดยกิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ
หรือแสวงหาความรู้ใหม่
7. รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle)
นักการ
ศึกษาจากกลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Society)
ได้เสนอกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่
โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้เข้ากับประสบการณ์หรือความรู้เดิม
เป็นความรู้หรือแนวคิดของผู้เรียนเอง เรียกรูปแบบการสอนนี้ว่า Inquiry
cycle หรือ 5Es มีขั้นตอนดังนี้ (BSCS. 1997)
1) การสร้างความสนใจ
(Engage)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำเข้าสู่บทเรียน
จุดประสงค์ที่สำคัญของขั้นตอนนี้ คือ ทำให้ผู้เรียนสนใจ
ใคร่รู้ในกิจกรรมที่จะนำเข้าสู่บทเรียน
ควรจะเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้เดิมกับปัจจุบัน
และควรเป็นกิจกรรมที่คาดว่ากำลังจะเกิดขึ้น
ซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจจดจ่อที่จะศึกษาความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะ
และเริ่มคิดเชื่อมโยงความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะกับประสบการณ์เดิม
2)
การสำรวจและค้นหา (Explore)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกันในการสร้างและ
พัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะ
โดยการให้เวลาและโอกาสแก่ผู้เรียนในการทำกิจกรรมการสำรวจและค้นหาสิ่งที่ผู้
เรียนต้องการเรียนรู้ตามความคิดเห็นผู้เรียนแต่ละคน
หลังจากนั้นผู้เรียนแต่ละคนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการคิด
รวบยอด กระบวนการ และทักษะในระหว่างที่ผู้เรียนทำกิจกรรมสำรวจและค้นหา
เป็นโอกาสที่ผู้เรียนจะได้ตรวจสอบหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดรวบ
ยอดของผู้เรียนที่ยังไม่ถูกต้องและยังไม่สมบูรณ์
โดยการให้ผู้เรียนอธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เรียน
ครูควรระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียนตามประเด็นปัญหา
ผลจากการที่ผู้เรียนมีใจจดจ่อในการทำกิจกรรม
ผู้เรียนควรจะสามารถเชื่อมโยงการสังเกต การจำแนกตัวแปร
และคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้
3) การอธิบาย (Explain)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความ
สามารถในการอธิบายความคิดรวบยอดที่ได้จากการสำรวจและค้นหา
ครูควรให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับ
ทักษะหรือพฤติกรรมการเรียนรู้
การอธิบายนั้นต้องการให้ผู้เรียนได้ใช้ข้อสรุปร่วมกันในการเชื่อมโยงสิ่งที่
เรียนรู้
ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ครูควรชี้แนะผู้เรียนเกี่ยวกับการสรุปและการอธิบาย
รายละเอียด
แต่อย่างไรก็ตามครูควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังคงเน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง นั่นคือ
ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการอธิบายด้วยตัวผู้เรียนเอง
บทบาทของครูเพียงแต่ชี้แนะผ่านทางกิจกรรม
เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิด
รวบยอดให้ชัดเจน
ในที่สุดผู้เรียนควรจะสามารถอธิบายความคิดรวบยอดได้อย่างเข้าใจ
โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้เดิมและสิ่งที่เรียนรู้เข้าด้วยกัน
4)
การขยายความรู้ (Elaborate)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ยืนยันและขยายหรือเพิ่มเติมความรู้
ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและปฏิบัติตามที่ผู้เรียนต้องการ
ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่หรืออาจจะเข้าใจเฉพาะข้อสรุปที่
ได้จากการปฏิบัติการสำรวจและค้นหาเท่านั้น
ควรให้ประสบการณ์ใหม่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอด
ให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป้าหมายที่สำคัญของขั้นนี้ คือ
ครูควรชี้แนะให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
จะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะเพิ่มขึ้น
5)
การประเมินผล (Evaluate)
ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการอธิบายความรู้ความ
เข้าใจของตนเอง ระหว่างการเรียนการสอนในขั้นนี้ของรูปแบบการสอน
ครูต้องกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินความรู้ความเข้าใจและความ
สามารถของตนเอง
และยังเปิดโอกาสให้ครูได้ประเมินความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของผู้เรียน
ด้วย
การนำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้
สิ่งที่ครูควรระลึกอยู่เสมอในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบการสอนนี้ คือ
การจัดเตรียมกิจกรรม
ครูควรจัดเตรียมกิจกรรมให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
เมื่อครูเตรียมกิจกรรมแล้ว
ครูควรพิจารณาตรวจสอบบทบาทของครูและผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละขั้น
ตอนว่าสอดคล้องกับรูปแบบการสอน 5Es หรือไม่จากตารางที่ 1-3 ต่อไปนี้
เพื่อครูจะได้ปรับหรือพัฒนากิจกรรมให้สอดคล้องกับรูปแบบการสอน
ตารางที่ 1 การนำวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ของ BSCS ไปใช้บทบาทของครูผู้สอน
ระยะของ
การสอน
สิ่งที่ครูผู้สอนปฏิบัติ
ที่สอดคล้องกับโมเดล 5E
ที่ไม่สอดคล้องกับโมเดล 5E
Engagement
(ขั้นการมี
ส่วนร่วม)
- สร้างความสนใจ
- สร้างความอยากรู้อยากเห็น
- สร้างป