ตัวอย่างโครงงานภาษาไทย
เรื่อง สำรวจรวบรวมคำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
การเขียนคำภาษาไทยให้ถูกต้องตรงตามแบบแผนนั้น
นับเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
การเขียนคำภาษาไทยได้ถูกต้องเป็นการแสดงถึงความเข้าใจ
และให้ความสำคัญอย่างลึกซึ้งกับภาษาซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของไทยแต่โบราณมา
ทว่าในปัจจุบัน การเขียนภาษาไทยเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วถึง
อีกทั้งภาษาไทยเป็นภาษาที่งดงามซับซ้อน มีตัวพยัญชนะถึง 44 ตัว มีคำพ้องรูป
พ้องเสียงมากมาย จึงทำให้เกิดความสับสน ในการสะกดคำบางคำ
นานวันเข้าจึงมีคำที่มักเขียนผิดมากมาย
ผู้จัดทำเห็นความจำเป็นที่ควรจะรวบรวมคำที่มักเข่ยนผิดในภาษาไทย
ซึ่งมักจะเป็นคำที่คุ้นเคยในการฟังและพูด แต่มักไม่ค่อยเขียน
เมื่อต้องเขียนจึงเขียนผิด การรวบรวมคำที่มักเขียนผิด
พร้อมทั้งค้นหาความหมายนั้นได้จัดเรียงลำดับตัวอักษรเพื่อให้ง่ายต่อการ
ศึกษา และเกิดประโยชน์มากที่สุด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมคำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย ค้นคว้าแก้ไขให้ถูกต้องแล้วเรียบเรียงใหม่ตามลำดับตัวอักษรตั้งแต่ ก-ฮ
2. เพื่อค้นหาความหมายของคำที่ได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้วนั้นมาแสดงไว้ให้ง่ายต่อการค้นคว้า
3. เพื่อให้การเขียนคำในภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องตามแบบพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นมาตรฐานในการเขียนคำภาษาไทย
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
รวบรวมคำที่มักเขียนผิด เรียบเรียงใหม่ตามลำดับตัวอักษรและค้นหาความหมายของคำนั้น ๆ ตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ
วิธีการดำเนินการ
1. ศึกษาจากหนังสือรวบรวมคำที่มักเขียนผิด
อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ของราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม)
ซึ่งได้รวบรวมไว้เบื้องต้นแล้วส่วนหนึ่ง
2. รวบรวมคำที่เป็นศัพท์ยากจากหนังสือเรียนภาษาไทย ท 503 ชุดวรรณสารวิจักษณ์ เล่ม 3
3. ค้นหาความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 พร้อมกับเรียบเรียงตามลำดับตัวอักษร
4. นำเสนอในรูปแบบตาราง
ผลการศึกษา
ตารางแสดงคำที่มักเขียนผิด
คำที่มักเขียนผิด |
คำที่เขียนถูกต้อง |
ความหมาย |
กงศุล |
กงสุล |
พนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ในต่างประเทศ |
กฏ |
กฎ |
ข้อบังคับ |
กบฎ |
กบฏ |
ประทุษร้ายต่อประเทศ |
กันเชียง |
กรรเชียง |
เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว |
กันโชก |
กรรโชก |
ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว |
กันไตร |
กรรไตร |
เครื่องมือสำหรับใช้หนีบ มี 2 ขา เขียนเป็นกรรไกร หรือ ตระไกรก็มี |
กรรมพันธ์ |
กรรมพันธุ์ |
ลักษณะนิสัย โรคบางชนิดที่สืบทอดทางสายเลือด |
กรรมสิทธิ |
กรรมสิทธิ์ |
ความเป็นเจ้าของทรัพย์ |
กล่อน |
กร่อน |
สึกหรอ |
ขรุกขริก |
ขลุกขลิก |
เต๋าเขย่า (การพนัน) , แกงเผ็ดที่มีน้ำน้อย |
ขมักเขม้น , ขะมักขะเม่น |
ขะมักเขม้น |
ตั้งใจทำอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป |
ขมุกขมอม |
ขะมุกขะมอม |
เปรอะเปื้อนมอซอ |
ขันทสกร |
ขัณฑสกร |
น้ำตางกรวด |
ขัดสมาส |
ขัดสมาธิ |
นั่งเอาขาสองข้างขัดกันไขว้กัน |
ขันเชนาะ |
ขันชะเนาะ |
บิดลูกชะเนาะให้ตึง |
ขาดดุลย์ |
ขาดดุล |
บกพร่อง |
คึ่นช่าย |
ขึ้นฉ่าย |
ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า |
เข็นใจ |
เข็ญใจ |
ยากจนข้นแค้น |
ขเม็ดแขม่ |
เขม็ดแขม่ |
ประหยัด |
ขเยก , ขะเหยก |
เขยก |
อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ |
ขะเหยิน |
เขยิน |
ยื่นออกมา |
เข้าฌาณ |
เข้าฌาน |
ทำใจให้สงบตามหลักพระพุทธศาสนา |
เข้ารีด |
เข้ารีต |
เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น |
ไข่มุกข์ , ไข่มุกด์ , ไข่มุข |
ไข่มุก |
วัตถุมีค่า มีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด |
คณณา |
คณนา |
นับ |
คณโฑ |
คนโท |
หม้อน้ำรูปต่าง ๆ คอยาว |
เครื่องยนตร์ |
เครื่องยนต์ |
เครื่องจักรที่ทำให้เกิดพลังงาน |
เครื่องลาง |
เครื่องราง |
เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ |
เครื่องสำอางค์ |
เครื่องสำอาง |
สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงให้ดูงาม |
เคหะสงเคราะห์ |
เคหสงเคราะห์ |
องค์การสงเคราะห์ด้านที่อยู่อาศัย |
เคี่ยวเข็น |
เคี่ยวเข็ญ |
บีบบังคับ |
โครงการณ์ |
โครงการ |
แผนหรือเค้าโครง |
โควต้า |
โควตา |
การจำกัดจำนวนโดยวางกฎเกณท์ไว้ |
งบดุลย์ |
งบดุล |
บัญชีแสดงรายการแตกต่างระหว่างทรัพย์สินกับหนี้สิน |
งูสวัสดิ์ |
งูสวัด |
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง |
โง่เหง้า |
โง่เง่า |
โง่มาก |
จรเข้ |
จระเข้ |
สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ |
จาละเม็ด |
จะละเม็ด |
ชื่อปลาทะเล รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้างมาก |
จักรพรรดิ์ |
จักรพรรดิ |
พระราชาธิราช |
จันทาล , จันฑาล |
จัณฑาล |
ต่ำช้า |
จตุรัส |
จัตุรัส |
สี่เหลี่ยมด้านเท่าเป็นมุมฉาก |
ต้นจันทร์ |
ต้นจันทน์ |
ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ดอกหรือผลหอม |
ตลบแตลง |
ตลบตะแลง |
พลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ |
ตะกรุมตะกลาม |
ตะกรุมตะกราม |
กิริยาที่ทำไปอย่างขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการบริโภค ผลีผลาม |
- |
ตะเข้ |
จระเข้; ตัวไม้จากกลางจั่งบ้านมายังชายคา |
ตะเข้ |
ตะเฆ่ |
เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ย ๆ มีล้อ |
ตาราง |
ตะราง |
ที่คุมขังนักโทษ |
ตล่อม |
ตะล่อม |
ทำให้รวมกันเข้ามาเป็นกอง ; อัตราตวงของโบราณ |
ต่าง ๆ นา ๆ |
ต่าง ๆ นานา |
หลายอย่าง หลายชนิด |
ตานขะโมย |
ตานขโมย |
ชื่อโรคพยาธิลำไส้อย่างหนึ่ง |
ตาลตะโหนด |
ตาลโตนด |
ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่ |
ตาละปัตร |
ตาลปัตร |
พัดใบตาลมีด้ามยาว สำหรับพระใช้ในพิธีกรรม |
ตำหรับตำรา |
ตำรับตำรา |
ตำราที่กำหนดไว้เฉพาะเรื่อง |
เต๊นท์ |
เต็นท์ |
ที่พักย้ายได้ ทำจากผ้าใบ |
|
|
|
ถนนราดยาง |
ถนนลาดยาง |
ถนนลาดยางมะตอย |
ถนัดถะหนี่ |
ถนัดถนี่ |
ถนัดชัดเจน |
ถั่วพลู |
ถั่วพู |
ถั่วชนิดหนึ่ง |
ทะโมน |
ทโมน |
ใหญ่และมีกำลังมาก |
ทะยอย |
ทยอย |
หย่อย ๆ กันไปไม่ขาดระยะ |
ทะแยง |
ทแยง |
เฉลียง , เฉียง |
ทรนง |
ทระนง |
ทะนง , หยิ่ง |
ทรัพย์สิทธิ์ |
ทรัพย์สิทธิ |
สิทธิเหนือทรัพย์นั้น ๆ |
ทนง |
ทะนง |
ถือตัว หยิ่ง |
ทนุบำรุง |
ทะนุบำรุง |
เอาใจใส่ดูแล เลี้ยงดู |
ทลวง |
ทะลวง |
ทำให้เป็นช่องกลวงเข้าไป |
ทลึ่ง |
ทะลึ่ง |
แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควรในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตัวเอง |
ทะเลสาป |
ทะเลสาบ |
ห้วงน้ำใหญ่ที่มีลักษณะเนื้อที่กว้างใหญ่ |
ทัศนะศิลป์ |
ทัศนศิลป์ |
ศิลป์จากการเห็น |
เทอดพระเกียรติ |
เทิดพระเกียรติ |
ยกย่องพระเกียรติไว้เป็นที่เคารพ |
แท๊กซี่ |
แท็กซี่ |
รถยนต์รับจ้างสาธารณะ |
ธัญญพืช |
ธัญพืช |
พืชข้าวกล้า |
ธำมรง |
ธำมรงค์ |
แหวน |
ธำรงค์ |
ธำรง |
ชูไว้ ทรงไว้ |
ธุดง |
ธุดงค์ |
องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส |
ธุระการ |
ธุรการ |
การจัดกิจการงานโดยส่วนรวมของแต่ละหน่วย |
ธุระกิจ |
ธุรกิจ |
การงานประจำเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย |
ผลและการวิจารณ์ผล
1. โครงงานนี้มีการรวบรวมคำไว้มากกว่า 70 คำ
2. มีการนำเสนอในรูปแบบตาราง อ่านง่าย
สรุปผลการศึกษา
คำ
ในภาษาไทยที่มักเขียนผิดนั้น โดยส่วนใหญ่ที่ผิดนั้นก็คือ
เกิดจากการที่คำนั้น ๆ มีคำพ้องเสียงหลายคำ แต่สะกดคำต่างกันจึงทำให้ใช้ผิด
อีกทั้งเป็นเพราะคำไทยมีตัวพยัญชนะถึง 44 ตัว มีบางตัวที่ออกเสียงเดียวกัน
ทำให้เกิดการใช้ผิดกัน
เอกสารอ้างอิง
ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
(แก้ไขเพิ่มเติม) พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : คอมฟอร์ม,2540
พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530.

ที่มา.http://nawapat.is.in.th/?md=content&ma=show&id=45